วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โครงการท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด จังหวัดพิษณุโลก





ท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด จังหวัดพิษณุโลกตามรอยประวัติศาสตร์เมืองสองแคว


1.วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร(วัดใหญ่)





สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัยและเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัย มีความว่าพ่อขุนศรีนาวนาถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร 4 ทิศ ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหารเมื่อ พ.ศ. 2458ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธชินราช หรือเรียกว่า"หลวงพ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปที่หล่อด้วยสาริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลายหน้าตักกว้าง 5 ศอก1 คืบ5 นิ้วสูง 7 ศอก หล่อในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1(พญาลิไท) ซึ่งได้สร้างพระพุทธชินราชพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดา เป็นรูปบัวคว่าบัวหงายด้วยพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลมพระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษ เรียกว่า "ทีฆงคุลี" คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน "ซุ้มเรือนแก้ว" ทาด้วยไม้แกะสลัก สร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักลาตัวคล้ายมังกร แต่มีงวงคล้ายช้าง อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลาตัวเหรา คล้ายจระเข้ อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ "ท้าวเวสสุวัณ" และ "ยักษ์อารวก"ในตานานการสร้างพระพุทธชินราชกล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก (พระยาลิไท) ได้สร้างขึ้นพร้อมกับ "พระพุทธชินสีห์" และ "พระศรีศาสดา" ใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย
ในระหว่างการเททองปรากฏว่าหล่อได้สาเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทาพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้งและครั้งสุดท้าย "พระอินทร์" ได้แปลงกายเป็น "ชีปะขาว" มาช่วยเททองหล่อเมื่อ วันพฤหัสบดีขึ้นสองค่า เดือนหกปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช 319 จึงหล่อได้สาเร็จบริบูรณ์ ปัจจุบัน "พระพุทธชินสีห์" และ "พระศรีศาสดา" ได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิ เวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดจึงได้หล่อองค์จาลองขึ้นแทน ส่วนทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และ พระศรีศาสดาแล้ว พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนาเศษทองสัมฤทธิ์ ที่เหลือนามารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตักกว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า“พระเหลือ” ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถส่วนพระปรางค์ประธานนั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรสารีริกธาตุ สร้าง ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนาถม ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี จนถึง ณ ปัจจุบัน


2.วัดราชบูรณะ




เป็นวัดเก่าแก่ขอจังหวัดพิษณุโลก เชื่อว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่,วัดพระพุทธชินราช)  และได้รับการบูรณะต่อกันมาเรื่อย ๆ จนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ใช้ชื่อวัดเป็น “วัดราชบูรณะ” จนมาถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุที่เป็นวัดที่มีอายุยาวนานจึงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจมากมายหลายอย่าง

 พระวิหาร : เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน อยู่ใกล้กับพระเจดีย์ สถาปัตยกรรมเป็นแบบทรงโรงมี 9 ห้อง ศิลปะแบบสุโขทัยหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ทางขึ้นมีประตู 3 บาน ภายในพระวิหารมีเสาศิลาแลงกลม “พระประธาน” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีรูปบัวคว่ำบัวหงาย “จิตรกรรมฝาผนัง” ที่อยู่ภายในพระวิหารหลวงมาจากฝีมือสกุลช่างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) แต่ปัจจุบันถูกน้ำฝนลบเลือนจนชำรุดเสียหายไปเกือบหมด กรมศิลปากรได้ส่งช่างศิลปกรรมมาอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเมื่อปี 2536 ให้มีสภาพดีขึ้น
      เจดีย์หลวง : ของวัดราชบูรณะเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบทรงลังกา ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมเรียงกันเป็นชั้น เป็นเจดีย์ประธาน มีเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ล้อมรอบ ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อปี 2533 ซึ่งเจดีย์หลวงของวัดราชบูรณะนี้หากยืนอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำก็สามารถมองเห็นได้และมีมุมสวย ๆ อีกมุมหนึ่งที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมได้เก็บมาฝากทุกท่านที่เข้าชม


สำหรับ พระอุโบสถ จะอยู่ใกล้กับ หอไตร มีทางขึ้นลงด้านละ 2 ประตู บานประตูเป็นไม้สลักรูปดอกไม้สีทอง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังด้านบนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนด้านล่างเป็นภาพกามกรีฑา ซึ่งไม่เคยพบในจิตรกรรมฝาผนังของวัดใด ๆ มาก่อน ปัจจุบันลบเลือนไปมาก







นอกจากนี้บน ศาลาการเปรียญ ของวัดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีการจัดเป็นมุมของศาลาการเปรียญเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนย่อย ๆ และหากนักท่องเที่ยวท่านใดมีความชื่นชอบในพระเครื่องรุ่นที่โด่งดังอย่างพระนางพญาแล้วล่ะก็ วัดราชบูรณะมีชื่อเสียงเรื่องเป็นที่มาของพระนางพญา สามารถเช่าบูชาได้บนศาลาการเปรียญเช่นกัน 
และภายในวัดเรือพระที่นั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงประพาสเมืองพิษณุโลก ให้ผู้ศรัทธาได้ลอดท้องเรือเพื่อความเป็นสิริมงคล พ้นเคราะห์

3.วัดนางพญา

ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างแต่หากพิจารณาทางด้านสถาปัตยกรรมของพระวิหารวัดนางพญาแล้ว สันนิษฐานว่าวัดนางพญาน่าจะสร้างในสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ชาวพิษณุโลกเค้าเชื่อกันว่า ผู้สร้างวัดนางพญา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกนานถึง 21 ปี ในระหว่างปี พ.ศ.2091 – 2112 จึงได้ชื่อว่า วัดนางพญา





วัดนางพญาแห่งนี้เดิมทีไม่มีพระอุโบสถ จะมีเพียงแต่พระวิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบทรงโรง มี 6 ห้องสถาปัตยกรรมศิลปะสมัยสุโขทัย มีพระพุทธรูปประธานเป็นปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิ ส่วนฝาผนังด้านหน้าเขียนภาพพระพุทธประวัติ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 พระครูบวร ชินรัตน์ (ม้วน) เจ้าอาวาสวัดนางพญาได้บูรณะแปลงพระวิหารหลังนี้ให้เป็นพระอุโบสถ โดยการก่อสร้างขึ้นใหม่หมดทั้งหลัง ทำให้ไม่สามารถที่จะศึกษาสภาพของพระวิหารโบราณหลังเดิมได้เลย
















            ของดี ขึ้นชื่อของวัดนี้ คือ “พระนางพญา” เป็นพระเครื่องหนึ่งในกลุ่มพระเบญจภาคี มีความเชื่อกันในเรื่องเมตตา มหานิยม ปัจจุบันหาได้ยากมาก มีก็แต่ที่ได้สร้างจำลองขึ้นภายหลัง มีการพบกรุพระเครื่องครั้งแรกใน พ.ศ. 2444 และครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2497

ประวัติการสร้างพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ กองทัพพม่าซึ่งมีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ขยายอาณาเขตเข้าตีเมืองมอญ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับแดนไทย ไว้เป็นที่มั่น แล้วสั่งเกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าหงสาวดีได้เสด็จเป็นจอมทัพยกเข้ามารุกรานเมืองไทย หมายเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น

             ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาประชิดกรุง เสด็จยกกองทัพหลวงออกไปหวังจะลองกำลังข้าศึกดูว่าจะหนักเบาเพียงใด โดยทรงพระคชาธาร สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสี ได้แต่งองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราช ทรงคชาสาร ตามเสด็จไปด้วยพระราเมศวรและพระมหินทร์ ราชโอรสทั้งสอง

                   กองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ไพร่พลของทั้งสองกองทัพเข้ารบพุ่งกันเป็นสามารถ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรต่างทรงช้างขับไพร่พล หนุนมาพบกันเข้าก็ชนช้างกันตามแบบการยุทธในสมัยนั้น ช้างพระที่นั่งสมเด็จพะมหาจักรพรรดิเสียทีแล่นหนีช้างข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรขับช้างไล่มา สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางทางข้าศึกเอาไว้ พระแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยทัย ด้วยสำคัญว่าเป็นชาย สิ้นพระชนซบลงกับคอช้าง พอพระราเมศวรกับพระมหินทร์ทั้งสองพระองค์ขับช้างทรงเข้าต่อสู้ พระเจ้าแปรก็ถอย จึงกันเอาพระศพสมเด็จพระชนนีกลับ

              การรบพุ่งในวันนั้นเป็นอันยุติไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แม้ว่าสมเด็จพระสุริโยทัยจักสิ้นพระชนม์ พระศพสมเด็จพระสุริโยทัยได้อันเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวง ตรงที่สร้างวังหลังต่อมาได้สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่ในสนามหลวง ตรงกับวัดเขตวัดสบสวรรค์และได้สร้างพระอารามขึ้นตรงกับพระเมรุกับได้สร้างพระมหาเจดีย์เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของพระองค์ท่านผู้มีทั้งพระทัยกล้าหาญมั่นคงเด็ดเดี่ยว ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบกันต่อมา

การศึกในครั้งนั้น กองทัพของพระเจ้าหงสาวดี แม้จะมีรี้พลมากกว่าก็ไม่สามารถที่รบพุ่งหักหาญให้กรุงศรีอยุธยาแตกหักลงได้ เพียงแต่ล้อมเมืองเอาไว้เฉยๆ อยู่ไปนานเข้าเสบียงอาหารร่อยหรอลง รี้พลก็ระส่ำระส่าย ประกอบกับขณะนั้นกำลังรบทางหัวเมืองฝ่ายเหนืออันเป็นมณฑลราชธานีครั้งสมเด็จพระร่วงเจ้า ยังมีกำลังมาก อีกทั้งพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นอุปราชครองหัวเมืองเหนือทั้งปวงอยู่ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีใบบอกให้ยกกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ลงมาช่วยตีกระหนาบ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีพอได้ข่าวกองทัพไทยในฝ่ายเหนือลงมาก็ตกพระทัย

ยกทัพกลับไปทางด้านเจดีย์สามองค์ ปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก ได้อภิเษกเป็นพระศรีสรรเพชญ หรือเจ้าฟ้าสองแคว ทรงอภิเษกสมรสกับพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ซึ้งมีเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นนักรบอย่างแท้จริง ยอดวีรกษัตรีนั่นเอง มีพระราชโอรส๒องค์ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้กอบกู้ชาติให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น กับสมเด็จพระเอกาทศรถ และพระธิดา๑องค์ คือ พระสุพรรณกัลยา

พระมหาธรรมราชาทรงครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองพิษณุโลกสืบต่อมาเป็นเวลานาน พระองค์ทรงทะนุบำรุงเมือง ตลอดจนพระศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหญ่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพุทธสถานที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตลอดมา คงจะเป็นเช่นเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบันนี้
4.วัดจุฬามณี        


              
                         เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก เชื่อกันว่าเป็นตำแหน่งที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม ตามประวัติศาสตร์ของวัดจุฬามณีแห่งนี้ กล่าวว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมหาราชทรงสร้างขึ้นและได้เสด็จออกผนวช ณ วัดแห่งนี้ เป็นเวลาถึง 8 เดือน 15 วัน เลยทีเดียว และการออกผนวชของพระองค์ท่านมีข้าราชบริพารบวชตามเสด็จถึง 2,348 รูป

     ภายในวัดยังคงพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญทางพุทธศาสนา คือ “พระพุทธบาทจำลอง” ประดิษฐานอยู่ภายในปรางค์ขอมโบราณ ก่อด้วยศิลาแลง ฐานปรางค์ประดับด้วยปูนปั้นรูปหงส์ยังเห็นลวดลายได้อย่างชัดเจน และ “ศิลาจารึก” ที่ฝังอยู่ภายในกำแพงมณฑปปัจจุบันมีตู้กระจกครอบเพื่อรักษาสภาพ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดสร้างขึ้น

                   นอกจากนี้ภายในวัดจุฬามณียังมี “พระวิหารเก่า” เป็นอาคารแบบทรงโรง ศิลปะสมัยอยุธยาลักษณะคล้ายพระอุโบสถของวัดราชบูรณะ และมีพระพุทธรูปสำคัญอีกหลายองค์อยู่ภายในวัดจุฬามณี

     “หลวงพ่อขาว” พระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถหลังเก่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาจากมูลดินอินทรารามในค่ายทหาร

     “หลวงพ่อคง” พระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ที่ประดิษฐานเดิมปรักหักพัง ชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันสร้างพระวิหารหลังเล็กขึ้นมาใหม่เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อคง
     “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปูนปั้นเนื้อสีดำ ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ตามประวัติชาวบ้านได้อัญเชิญหลวงพ่อดำมาทางเรือจากวัดจูงนาง หลวงพ่อดำมีสภาพชำรุด ครูทิว บูรณเขต เป็นผู้บูรณะ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารหลังเล็กเช่นเดียวกับหลวงพ่อคง




 “หลวงพ่อเพชร” เป็นพระพุทธรูปหินทราย ปางขัดสมาธิเพชรบนฐานรองรับองค์ เดิมสมเด็จไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีสัชนาลัยทรงผนวช ณ วัดจุฬามณีแห่งนี้และเป็นผู้สร้างหลวงพ่อเพชรไว้ ต่อมาหลวงพ่อเพชร ได้ชำรุด อดีตเจ้าอาวาสจึงนำปูนมาพอกไว้ หลังจากปูนหลุดกระเทาะออกมาจึงเห็นว่าพระพักตร์ชำรุด พระกรหัก ประชาชนจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อขึ้นมาใหม่ทำให้พุทธลักษณะของหลวงพ่อเพชรคล้ายศิลปะเชียงแสน ได้มีการนำเพชรมาประดับทที่พระเนตรและเม็ดพระศก ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อเพชร” แต่เพชรได้ถูกขโมยไปปัจจุบันประชาชนจึงได้ช่วยกันอนุรักษ์องค์หลวงพ่อไว้ดังที่เห็นในปัจจุบัน

5.วัดจันทร์ตะวันออก








วัดจันทร์ตะวันออก ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑ ถนนสังฆบูชา หมู่ที่ ๓ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก วังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน ที่ดินเลขที่ ๑๑ ๑๓ ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน และมีที่เดินเลขที่ ๑๓ ทิศตะวันตก ติดต่อกับแม่น้ำน่านและมีที่ดินเลขที่ ๑๑  ๑๕ ตามโฉนดเลขที่ ๒๒๑๖๒-๘๑๗-๒๓๒๙-๒๓๒๘
          พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านทางฝั่งตะวันออก อาคารเสนาสนะต่างๆมีอุโบสถกว่าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตรสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๔๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๔๖ หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๗๖ กุฎีสงฆ์จำนวน ๑๓ หลัง  เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ ขนาดพระเพลากว้าง ๒ ศอกคืบ เนื้อทองเหลือง พระประจำวัน ๗ องค์ ที่ศาลาการเปรียญมี พระประธานขนาดพระเพลากว้าง ๑ ศอกคืบ และรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส
          วัดจันทร์ตะวันออก สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๒๗๖ เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านจึงได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง ทางวัดได้ย้ายสถานที่สร้างเสนาสนะมาแล้วถึง      ๓ ครั้ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร    การศึกษาที่วัดนี้ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีนับว่าเจริญรุ่งเรืองวัดหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา สำหรับภิกษุอยู่จำพรรษามีปีละประมาณ ๒๐ รูป สามเณร ประมาณ ๑๐๐ รูป
เจ้าอาวาส มี  ๑๒ รูป คือ รูปที่ ๑ พระจั่น   รูปที่ ๒ พระชิต  รูปที่ ๓ พระนวม         รูปที่ ๔ พระเที่ยง   รูปที่ ๕ พระเสริม     รูปที่ ๖ พระฟื้น    รูปที่ ๗ พระนาค   ฉายรูปที่ ๘ พระบุญมี   รูปที่ ๙ พระเลื่อน     รูปที่๑๐   พระพร้อม   ฉายาสติมนฺโต  รูปที่ ๑๑  พระมหาชม ฉายา ภูริปญฺโญ (ป.ธ.๘)  รูปที่ ๑๒ พระครูปริยัติกิจจานุกรม (พิน   ฉินฺนาลโย  ป.ธ. ๓)    เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗  จนถึงปัจจุบัน (คัดลอกจากหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๗ กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ)
ในปัจจุบัน (ปี๒๕๕๒) ทำการเปิดการเรียนการสอนทั้งพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม  บาลี สามัญศึกษา  และพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา   จำนวน  ๑๑๘  รูป  (พระภิกษุ  ๒๖   สามเณร  ๙๒  รูป)
จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่าในอดีตสมัยกรุงธนบุรี วัดจันทร์ตะวันออกแห่งนี้ยังเคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกองทัพไทยนำโดยพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพของพระยานครสวรรค์ในการป้องกันเมืองพิษณุโลก  จากพม่าที่นำโดยอแสวุ่นกี้  ระหว่างปี ๒๓๑๗  ๒๓๑๘ เสด็จยกทัพหลวงขึ้นไป ณ ค่ายมั่นใกล้วัดจันทร์ตะวันออก ดำรัสให้กองพระยายมราช และพระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงคราม ยกไปช่วยพระยานครสวรรค์ซึ่งตั้งค่ายโอบประชิตโอบค่ายพม่า ณ วัดจันทร์ตะวันออกแล้วให้กองพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามณเฑียรซึ่ง  ไปตั้งค่ายประชิตโอบหลังค่ายพม่า

6.วัดจันทร์ตะวันตก



                 วัดจันทร์ตะวันตก หมู่ 7 ถ.วังจันทน์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 เป็นวัดแห่งหนึ่งริมแม่น้ำน่านตั้งอยู่บริเวณสะพานสุพรรณกัลยา อยู่ตรงข้ามกับวัดจันทร์ตะวันออกโดยมีแม่น้ำน่านกั้นกลาง หมู่บ้านวัดจันทร์ตะวันตกจะก่อตั้งเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดแต่พอจะทราบได้จากบันทึกและคำบอกกล่าวเล่าต่อๆ กันมาพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้



                      ประมาณปีพ.ศ. 2400 เดิมทีที่ตั้งของหมู่บ้านแห่งนี้เป็นป่าดงในอดีตมีวัดรังเงิน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มาก ผู้รู้เล่าขานกันมาว่าวัดรังเงินสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับการสร้างเมืองพิษณุโลก ประชากรที่อาศัยอยู่รอบๆ วัดเป็นลาวอพยพมาจากเวียงจันทน์ ต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้เผาผลาญบ้านเรือนของผู้อุปถัมภ์วัดที่อยู่รอบๆ วัดเสียหายหมด ชาวบ้านไม่สามารถดับไฟได้เพราะในหมู่บ้านมีแต่บ่อน้ำที่ขุดใช้เองทำให้มีน้ำไม่เพียงพอที่สู้ภัยจากไฟได้
    เหตุการณ์ที่เกิดเพลิงไหม้ครั้งนั้นได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากแม่น้ำน่าน จึงร่วมกันคิดขึ้นมาว่าควรจะหาสถานที่ตั้งวัดติดกับแม่น้ำ นายเทศ นางทองคำ มีจิตศรัทธาได้มอบที่ดินของตนให้กับวัดจำนวน 16 ไร่ 3 งาน เมื่อดำเนินการก่อสร้างวัดแล้วเสร็จ นิมนต์หลวงพ่อเสือที่อยู่วัดรังเงินมาอยู่ที่วัดสร้างใหม่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันนี้และได้ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์เมื่อ พ.ศ. 2400 เหตุผลที่ตั้งชื่อว่าวัดจันทร์นั้นเพราะว่าในวัดมีตันจันทร์ใหญ่อยู่ 1 ต้น และมีต้นจันทร์เล็กๆ อีกหลายต้นขึ้นอยู่ในวัด
    ในปี พ.ศ. 2481 ตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นใช้ศาลาของวัดเป็นโรงเรียน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ย้ายโรงเรียนจากวัดฯ มาตั้งอยู่ที่วัดรังเงิน ซึ่งร้างว่างเปล่าอยู่นานแล้วและใช้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตกมิตรภาพที่ 73" อยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนวัดจันทร์ตะวันตก ได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อ 19 มีนาคม 2490 สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงได้รับนามว่า วัดจันทร์ตะวันตก โดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
                      ประวัติศาสตร์ของวัดจันทร์ตะวันตก มีดังนี้
             วัดนี้เข้าใจว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้านั้นแล้วก็ได้ เพราะปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาหลายตอนซึ่งตรงสมัยกรุงธนบุรี ตอนอแซหวุ่นกี้แม่ทัพพม่ายกทัพมาล้อมเมืองพิษณุโลก เมื่อราว ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว จะขอยกกล่าวเป็นบ้างตอนดังนี้
 "...ครั้น ณ วันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ กลางคืนเพลาสี่ทุ่ม จึงเสด็จทัพหลวงขึ้นไป ณ ค่ายมั่นใกล้วัดจันทร์ดำรัสให้กองพระยายมราช และพระยานครราชสีมา พระยาพิชัยสงคราม ยกไปช่วยพระยานครสวรรค์ ซึ่งตั้งค่ายประชิดโอบค่ายพม่า ณ วัดจันทร์นั้น..."
     และอีกตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "...แล้วให้กองพระยาธรรมายกหนุนขึ้นไปช่วยพระยามหามนเฑียร และพระยานครสวรรค์ ซึ่งไปตั้งค่ายประชิดโอบหลังค่ายพม่า ณ วัดจันทร์ฟากตะวันตก..."
    จะเห็นได้ว่าในตอนแรกนั้นกล่าวถึงวันจันทร์ตะวันออกนั้นเอง ส่วนที่กล่าวถึงในตอนหลัง คือวัดจันทร์ตะวันตก แสดงว่าวัดทั้งสองมีมาแล้วเมือ ๒๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว




ประวัติมหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม 
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ พระอาจารย์อุบาลีได้พบสมเด็จองค์ปฐมในนิมิต และได้ขออนุญาตสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมเพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะบูชา ซึ่งสมเด็จองค์ปฐมทรงมีพุทธานุญาตให้สร้างได้ จึงดำเนินการสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางมารวิชัย ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ มีซุ้มเรือนแก้ว ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ๙ นิ้ว ขึ้นมา โดยตั้งใจจะสร้างให้ดีที่สุด และจะสร้างมหาวิหารเพื่อประดิษฐานที่สมพระเกียรติด้วย
แนวทางการออกแบบมหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม
    แบบมหาวิหารสมเด็จองค์ปฐมนั้น จำลองมาจากมหาวิหารสมเด็จองค์ปฐมที่พระอาจารย์อุบาลีเห็นในนิมิต และได้ถ่ายทอดให้สถาปนิกเขียนเป็นแบบ โดยพระอจารย์อุบาลี ดำริว่า จะทำให้ใกล้เคียงกับที่ท่านเห็นในนิมิตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในโลกมนุษย์

7.วัดอรัญญิก




 วัดอรัญญิกตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน อยู่นอกกำแพงเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด เมื่อพิจารณาจากโบราณสถานของวัดคือ พระเจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเป็นพระเจดีย์ประธานเป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๐๕ - ๑๙๑๒ วัดอรัญญิกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี 
            พระเจดีย์ประธาน  ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่รูปทรงกลม หรือทรงลังกา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เหลือเพียงคอระฆังครึ่งซีก
            พระเจดีย์ราย  ตั้งอยู่รอบ ๆ พระเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กมีอยู่ ๑๐ องค์ ตั้งอยู่ทางด้านข้างพระเจดีย์ประธาน ๔ องค์ (พระเจดีย์ประจำทิศเฉียง) และอยู่หลังพระเจดีย์ประธาน ๒ องค์ พระเจดีย์รายที่มีขนาดใหญ่มี ๒ องค์ คือพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้า และด้านหลังของพระเจดีย์ประธาน

            พระอุโบสถ  ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ประธาน มีขนาดฐานกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สูง ๒ เมตร พบใบเสมาหินชนวนจมอยู่ใต้พื้นดินทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้หนึ่งใบ พื้นพระอุโบสถปูด้วยหินทรายขนาดกว้าง ๘ นิ้ว ยาว ๑๕ นิ้ว หนา ๒ นิ้ว ทางด้านทิศตะวันตกมีเสาศิลาแลงสองแถว แถวละสองต้น รวมสี่ต้น มีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามฐาน

            พระพิมพ์วัดอรัญญิก  ได้มีผู้พบพระพิมพ์อยู่ใต้ซากกองอิฐของพระเจดีย์ประธาน พระเจดีย์ราย พระอุโบสถ และพระวิหาร มีจำนวนมากหลายแบบหลายพิมพ์ มีทั้งที่เป็นเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน
 




















8.วัดธรรมจักร






                      เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยท่านเจ้าอาวาสได้เล็งเห็นความสาคัญของเด็กและเยาวชนที่เลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาที่เข้ามาบวชแล้วสมควรที่จะได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเป็นศาสนทายาทที่ดี ปลูกฝังคุณธรรมนาไปเผยแผ่แก่สังคมให้เข้าใจในการศึกษาพระปริยัติธรรมได้ จุดเด่นคือความงามของโบสถ์ศาลา ที่ได้บูรณจากเจ้าคณะจังหวัดเสมอ

9.วัดพันปี



                          วัดพันปีเป็นวัดโบราณ ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณเหตุผลที่ตั้งชื่อว่าวัดพันปีนี้เพราะว่าแต่เดิมที่นี่เคยเป็นวัดโบราณมาก่อน แล้วพอมาปัจจุบันชาวบ้านต้องไปทาบุญไกล การเดินทางไปทาบุญของชาวบ้านก็ลาบากจึงช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่นี่ และมีเจ้าอาวาสองค์แรกที่มาช่วยบูรณะวัดนี้และตั้งชื่อว่าพันปีช่วงที่บูรณะวัดได้พบว่ามีไม้ตะเคียนทองและกระดูกช้างลอยน้ามา คาดว่าจะอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าอาวาสจึงอัญเชิญมาไว้ที่วัดแห่งนี "ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง" ที่ลอยมาตามลาน้าน่าน คาดว่าจะอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเจ้าอาวาสองค์แรกจึงอัญเชิญมาไว้ที่วัดแห่งนี้






โครงการท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด จังหวัดพิษณุโลก 
รายวิชา ระบบคิด จิตวิทยากับกระบวนการทำงานสาธารณะ รหัสวิชา 830215 
ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2558

สมาชิกกลุ่ม

1.ร้อยโท อนันท์            เอกปัชชา       รหัสนิสิต  57510359
2.จ่าสิบตรี ภาคภูมิ         ไพศาล          รหัสนิสิต  57510250
3.สิบเอก ปิยะพล          สระศรีสม        รหัสนิสิต  57510199
4.จ่าอากาศโท อานนท์     ศรีทอง          รหัสนิสิต  57510458





2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 19:58

    Slotocasino - Aji Casino
    Slotocasino.com is a kadangpintar trusted 메리트 카지노 고객센터 site for slot machines online. We have over 300 games and over 200 software providers. Enjoy playing on your mobile, tablet or 카지노

    ตอบลบ
  2. Casino Las Vegas, NV Jobs, Employment | MapYRO
    Find casino jobs near you in Las Vegas, NV on 하남 출장안마 MapYRO! 화성 출장마사지 Find the 수원 출장안마 BEST 서울특별 출장마사지 and NEWEST CASINO jobs 고양 출장안마 available!

    ตอบลบ